ผ้ากันไฟ Fiberglass
– ทำจากผ้าไฟเบอร์ที่ปราศจากใยหิน
– ผ้ากันไฟนี้เหมาะสมกับหลากหลายเช่น โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานอุตสาหกรรม, ห้องปฏิบัติงาน เป็นต้น
– Fiberglass Cloth หรือ ผ้าใยแก้ว เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันมานานกว่า 20 ปีในประเทศไทย
โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่ง “ใยแก้ว” ออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆคือ
– A Glass (Alkali) – ใช้สำหรับงานที่ต้องทนสารเคมีที่เป็นด่าง
– C Glass (Chemical) – ใช้สำหรับงานที่ต้องทนสารเคมีที่เป็นกรดและสารกัดกร่อน
– E Glass (Electrical) – ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงและเป็นฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ดี
– S Glass (High Strength) – ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงสูงกว่าชนิด E

นอกจากนี้ใยแก้วยังจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
– ใยแก้วผืน (Chopped Strand Mat) – สำหรับงานเสริมแรงด้วยวิธีใช้มือทา
– ใยแก้วตาสาน (Woven Roving) – ใช้ร่วมกับผ้าใยแก้วสำหรับเสริมกำลังให้ชิ้นงาน
– ผ้าใยแก้ว (Fiberglass Cloth) – ใช้ในงานเสริมแรงและกันความร้อนหรือสะเก็ดไฟ
– ใยแก้วผิว (Glass Tissue) – ใช้สำหรับวางทับหลังเจลโค้ท เพื่อให้ชิ้นงานดูเรียบขึ้น
– เทปใยแก้ว (Glass Tape) – กว้าง 2-4 นิ้ว สำหรับพันท่อร้อนและเสริมรอยต่อชิ้นงาน
– ใยแก้วเส้นด้าย (Roving) – ใช้สำหรับเสริมชิ้นงานในลักษณะยาวๆ ลดการแตกร้าว
– ใยแก้วเส้นสั้น (Chopped Strand) – ใช้ผสมกับเจลโค้ทหรือเรซิ่นแล้วหล่อลงตามมุม

error: Content is protected !!